อากาศอัด โซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Industry)
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ถือเป็นอุปกรณ์สามัญประจำอู่ซ่อมรถหรือร้านล้างรถ หรือแม้แต่ในโรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ (Automotive Industry) ที่ขาดไม่ได้ มาดูกันค่ะว่าแต่ละกระบวนการมีการนำอากาศอัดมาใช้อย่างไรบ้าง
อากาศอัด คู่หูอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Industry)
คุณลองสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมาสิ ทุกอย่างได้พัฒนามาเป็นระบบดิจิตอลเกือบหมดแล้ว แม้แต่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน ได้มีการนำอากาศอัดมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ มากมายตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนการบำรุงรักษา
“ปั๊มลม” ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) จึงถือเป็นอุปกรณ์สามัญประจำอู่ซ่อมรถหรือร้านล้างรถ หรือแม้แต่ในโรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ ที่ขาดไม่ได้ มาดูกันค่ะว่าแต่ละกระบวนการมีการนำอากาศอัดมาใช้อย่างไรบ้าง?
การนำอากาศอัดมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ (auto assembly)
ในอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ล้วนมีอากาศอัด (compressed air) จาก
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) เป็นตัวขับเคลื่อนอยู่เกือบทุกกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตเครื่องยนต์ การประกอบรถยนต์ การพ่นสี รวมไปถึงการทำความสะอาด
ต้องยอมรับเลยว่ายุคสมัยนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นพัฒนาไปเร็วมาก จากรถยนต์ที่ทำจากเหล็กน้ำหนักมากในอดีต แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ช่วยลดน้ำหนักของรถยนต์ลง ทำให้มีน้ำหนักเบากว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากมีการผสมผสานระหว่างโลหะน้ำหนักเบา พลาสติก และวัสดุผสมที่มีความทนทานมากกว่าและมีน้ำหนักน้อยกว่ามาก
ระบบอัดอากาศ (compressed air) และ
เครื่องมือลม (Pneumatic tools) จึงมีบทบาทสำคัญในการผลิตและขึ้นชิ้นส่วนยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนเครื่องจักรที่ใช้ในการยก เคลื่อนย้าย วางตำแหน่ง และยึดส่วนประกอบต่างๆ ของรถยนต์ เครื่องขึ้นรูปโลหะและขึ้นรูปแผงประตู และฝากระโปรงหลัง
เครื่องจักรที่ใช้ยึดและเชื่อมหมุด (rivets and welding) แบบอัตโนมัติ รวมถึง
เครื่องมือลมต่างๆ (pneumatic fastening tools) ล้วนใช้ลมอัดในการประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ตลอดจนการผลิตตัวถังรถที่ยังไม่ได้ทาสี
หลังจากประกอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะใช้ลมอัดที่มีคุณภาพอากาศอัดดีเยี่ยมจาก
ปั๊มลมสกรูหรือเครื่องอัดอากาศแบบสกรู (oil-free screw air compressor) ทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ หรือ ฝุ่นละอองต่างๆ รวมถึงในขั้นตอนการพ่นสี เพื่อป้องกันพื้นผิวเป็นจุด ไม่เรียบและการกระเด็น (spattering) นอกจากนี้เรายังใช้ลมอัดในระบบสายพาน (conveyor system) เพื่อเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่ประกอบเสร็จแล้วออกจากกระบวนการผลิต โดยล้อเลื่อนที่ใช้ในสายพานนี้จำเป็นต้องใช้อากาศอัดที่แห้งและสะอาดเพื่อสร้างแผ่นฟิล์มบางๆ ในอากาศระหว่างสายพานกับพื้น ทำให้คุณสามารถถเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่ประกอบเสร็จแล้วออกจากสายการผลิตได้อย่างง่ายดาย
การนำอากาศอัดมาประยุกต์ใช้ในอู่ซ่อมรถ (body shops)
อู่ซ่อมรถหรือร้านซ่อมสีตัวถังรถยนต์ (body shops) ที่ดี น่าเชื่อถือนั้น เราสามารถดูได้จากเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ความสม่ำเสมอในการเคลือบเงาเป็นสิ่งสำคัญ
เครื่องขัดกระดาษทราย (Air sanders) มีหน้าที่ทำให้ตัวถังมีลักษณะเรียบขึ้นหลังจากได้รับการซ่อมแซม ฝุ่นละเอียดที่เกิดจากการการขัดนี้อาจผลกระทบต่อขดลวดได้ เราขอแนะนำ
เครื่องเจียรลม (pneumatic sander) ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า สามารถทำงานได้ดีแม้ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นมากและมีน้ำหนักน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแบบไฟฟ้า
อู่ซ่อมรถและอู่ซ่อมสีตัวถังมักใช้เลือกใช้ลมอัดแบบไร้น้ำมันแรงดันต่ำ (Low pressure oil-free compressed air) เพื่อควบคุมการฉีดพ่นสี ดังนั้นการเลือกขนาดและประเภทของ
ปั๊มลมสกรูหรือเครื่องอัดอากาศแบบสกรู (oil-free screw air compressor) ให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อากาศหมดในระหว่างการฉีดพ่นและไม่ต้องรอ
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor)ในการทำแรงดัน เรื่องการกำจัดความชื้นก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเคลือบสี เพราะบ่งบอกได้ถึงคุณภาพของงาน อู่ซ่อมรถและอู่ซ่อมสีตัวถังอาจใช้เครื่องทำลมแห้ง (air dryer) และ
ไส้กรองเสริม (coalescing filter) ในระบบอัดอากาศเพื่อขจัดความชื้นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
การนำอากาศอัดมาประยุกต์ใช้ในคาร์แคร์ (Car Care)
ในสังคมปัจจุบันนั้นนิยมใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากเพราะมีความสะดวกสะบายในการเดินทาง แต่รถยนต์ส่วนบุคคลเมื่อใช้งานไปในระยะนึงย่อมต้องการการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และ ความสะอาดภายในและภายนอก
เมื่อนึกถึงคาร์แคร์ อุปกรณ์หรือสิ่งที่เรามักจะนึกถึงก็คือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “ปั๊มลม”ค่ะ
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ก็มีให้เลือกใช้หลายขนาด ขนาดเล็กสุดที่แนะนำ
เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบลูกสูบ (piston air compressor) ขนาด 2 แรงม้าขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดเริ่มต้นสำหรับร้านคาร์แคร์เลยก็ว่าได้
แอตลาส คอปโก้ เอง ในฐานะผู้ผลิตก็ไม่หยุดยั้งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง
ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม
อากาศอัด โซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Industry)