อากาศอัดและก๊าซไนโตรเจน สิ่งที่ขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรมโลหะ

การนำอากาศอัด (Compressed Air) และก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ นั้นเปรียบเสมือนต้นกำลังของเครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ นอกจากนี้ก๊าซไนโตรเจนยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดความเสี่ยงจากการระเบิดได้อีกด้วย ทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

การนำอากาศอัด (Compressed Air) และก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ

ระบบอัดอากาศ และการจ่ายก๊าซไนโตรเจน (Compressed Air and Nitrogen Generation) นั้นมีใช้งานอยู่ในเกือบทุกอุตสาหกรรม แม้แต่ในอุตสาหกรรมโลหะเองก็มีการนำระบบอัดอากาศ และก๊าซไนโตรเจนมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเช่นกัน วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมโลหะกันค่ะ

เมื่อพูดถึงโลหะ คุณนึกถึงอะไรคะ? เหล็ก ท่อ เหล็กเส้น ถูกต้องค่ะ!! โลหะ (Metals) ก็คือสินแร่ชนิดหนึ่งที่มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง นำความร้อนและไฟฟ้าได้ มีความคงทนถาวร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  คือโลหะประเภทเหล็กและโลหะบริสุทธิ์ที่ไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ 

 

อุตสาหกรรมโลหะ (Metal Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ การแปรรูปโลหะ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ สะพาน ทางหลวง ก่อสร้าง พลังงาน บรรจุภัณฑ์ เสาส่งสัญญาณสาธารณูปโภค ผลิตภัณฑ์สำหรับรางรถไฟ  และอื่นๆ อีกมากมาย  โดยในแต่ละปีการผลิตและการบริโภคโลหะของประเทศไทยมีมูลค่าหลายแสนล้านบาท ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ 

 

แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าอากาศอัด และก๊าซไนโตรเจนนั้นอยู่เบื้องหลังกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมนี้ เพราะ อากาศอัด เปรียบเสมือนต้นกำลังของเครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ นอกจากนำก๊าซไนโตรเจนยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดความเสี่ยงจากการระเบิดได้อีกด้วย เอาเป็นว่าในโรงงานผลิตเหล็กหรืออลูมิเนียม แม้แต่โรงถลุงเหล็ก นั้นล้วนมีปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor และเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Generator) ทั้งสิ้น ทำได้อย่างไร มาดูกันค่ะ 

การนำอากาศอัด (Compressed Air) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ

• ใช้ผสมในอากาศ (Air Mixture)

โรงงานผลิตในอุตสาหกรรมโลหะจะใช้ อากาศอัด เพื่อทำให้แผ่นเหล็กหรือแท่งเหล็กเย็นลงหลังจากที่ได้ขึ้นรูปแล้ว โดยการบีบอัดอากาศแรงดันปานกลางผสมกับน้ำแล้วพ่นลงบนแผ่นเหล็กหรือแท่งเหล็กร้อนๆ ผลที่ได้คือจะได้ความเย็นที่สม่ำเสมอและรวดเร็ว

• ใช้ในตัวกรอง Bag Houses

Bag Houses คือตัวกรองและอุปกรณ์เก็บฝุ่นชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่นำอนุภาคออกมาจากอากาศ เป็นระบบดักฝุ่นที่รับอากาศผ่านระบบท่อ โดยที่ถุงดักจับฝุ่นนี้จะทำหน้าที่ดักจับฝุ่นและ อากาศอัด ที่เคลื่อนผ่านตัวกรองนี้เป็นระยะๆ นอกจากนี้ตัวกรอง Bag Houses ยังสามารถทำความสะอาดตัวมันเองได้อีกด้วย เนื่องจากฝุ่นจะเข้าไปในถังและจะถูกขจัดออกเอง มักใช้ในโรงถลุงเหล็ก เพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศ 

• ใช้ในเตาถลุงทรงสูง (Blast Furnaces)

การเปลี่ยนแร่เหล็กที่อยู่ในรูปเหล็กออกไซด์ ให้กลายเป็นเหล็กที่อยู่ในรูปของของเหลว โดยแร่เหล็กต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแร่เหล็ก ถ่านโค้กและหินปูนจะถูกผสมรวมกันในเตาหลอมเพื่อผลิตออกมาเป็นเหล็ก (steel) ซึ่งเราจะบีบอัดลมร้อนเข้าไปในเตาเผาเพื่อให้แร่ต่างๆ ถึงจุดหลอมเหลว

 

• ใช้ในกระบวนการผลิตถ่านโค้ก (Coke Production)

เราจะใช้ความร้อนระหว่าง 1,000 ° ถึง 2000 ° C ในการหลอมถ่านหินบิทูมินัส (Bituminous coal) เพื่อให้ออกมาเป็นถ่านโค้ก โรงงานผลิตถ่านโค้กจึงต้องการการจ่าย อากาศอัด ที่รันต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน

• อากาศสำหรับใช้ในอุปกรณ์ควบคุม (Instrument Air)

กระบวนการผลิตโลหะหลายๆ กระบวนการจำเป็นต้องพึ่งพา อากาศอัด เพื่อขับเคลื่อนวาล์วหรือระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบด (Crust breaking) หัวเป่าลม (air nozzles) ระบบลำเลียงวัสดุด้วยลม (pneumatic conveying) เป็นต้น

• ใช้ในเตาอ๊อกซิเจน (Oxygen Furnace)

การผลิตเหล็กกล้าด้วยเตาออกซิเจนนั้น เราจะผสมเหล็ก เศษเหล็ก และฟลักซ์รวมกันในเตาเผาออกซิเจน จากนั้นเราจะบีบอัดก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ 99% เข้าไปในเตาด้วยท่อส่งออกซิเจน ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เพื่อหลอมเหลวเศษเหล็ก

การนำก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Gas) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ

• การหล่ออลูมิเนียมด้วยการไล่ก๊าซ (Aluminum Degassing)

เราจะบีบอัดก๊าซไนโตรเจน เข้าไปในอะลูมิเนียมหลอมเหลว (molten aluminum) เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากโลหะ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์หลังจากขึ้นรุป

• การรักษาความร้อน (Heat Treating)

การรักษาความร้อนด้วยการอบชุบเพื่อเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของโลหะ โดยวิธีการนี้เราจะใชก๊าซไนโตรเจน ในการรักษาความเฉื่อยในเตาเผา ซึ่งหมายความว่าหากเราขจัดก๊าซออกซิเจนออกไป จะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดออกซิเดชันในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้ นอกจากนี้ยังใช้เร่งการดูดซับคาร์บอนในโลหะที่ผ่านการกรองเรียบร้อยแล้ว ช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชันระหว่างขั้นตอนการหล่อเย็นของเหล็กและใช้สำหรับกระบวนการหลอมเพื่อป้องกันไม่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนและเตาเผามีความร้อนสูงเกินไป

• การตัดด้วยเลเซอร์ (Laser Cutting)

การตัดเหล็กด้วยเลเซอร์นั้น หากใช้ความร้อนที่สูงเกินไป อาจทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาไม่สวย แต่เมื่อเรานำก๊าซไนโตรเจน มาประยุกต์ใช้ในการตัดด้วยเลเซอร์ โดยนำก๊าซไนโตรเจน มาคลุมรอบเลเซอร์เพื่อลดแรงดัน จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นเรียบ สวยคมสมูทและไร้ที่ติ นอกจากนี้ยังช่วยลดการเกิดออกซิเดชันอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตัดด้วยเลเซอร์ที่ใช้อลูมิเนียม สแตนเลส และเหล็กกล้าคาร์บอน

• การชุบโลหะ (Metal Coating)

หลังจากขึ้นรูปโลหะเรียบร้อยแล้ว เราจะใช้ก๊าซไนโตรเจน เคลือบโลหะและวัสดุอื่นๆ เพื่อป้องกันการกัดกร่อน เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชันได้ 

• การตัดโลหะด้วยระบบพลาสมา (Plasma Cutting)

กระบวนการตัดด้วยพลาสมาเป็นกระบวนการที่วัตถุจะถูกตัดเฉือนด้วยพลาสมาความร้อนสูงร้อนที่ถูกเร่งความเร็วสูง โดยเราจะใช้ อากาศอัด หรือก๊าซไนโตรเจนในการตัดด้วยพลาสม่า ทำให้ชิ้นงานหลอมละลายและขาดออกจากกันด้วยแรงดันสูง

เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Generator) จากแอตลาส คอปโก้ช่วยให้คุณผลิตก๊าซไนโตรเจนได้เองแบบ On-site ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และคุ้มค่ากับราคา  หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Generator) หรือปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) หรือมีคำถามเพิ่มเติมสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: @atlascopcothailand

                                                            

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

อากาศอัดและก๊าซไนโตรเจน สิ่งที่ขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรมโลหะ

explainer icon