ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นสำหรับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขึ้นอยู่กับการสูญเสียแรงดันภายในและพลังงานไฟฟ้าที่ไดรเออร์ใช้
รักษาระดับการสูญเสียแรงดันให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
การสูญเสียแรงดันภายในคือความแตกต่างระหว่างแรงดันของอากาศอัดที่ท่อขาเข้าของไดรเออร์และทางออก
ยิ่งการสูญเสียแรงดันภายในของไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นน้อยลงเท่าไหร่ แรงดันที่คุณต้องการใช้กับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น และพลังงานที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมใช้ก็จะน้อยลง
ไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นของเราได้รับการออกแบบมาเพื่อลดการสูญเสียแรงดัน ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้พลังงานต่ำที่สุด
เทคโนโลยีระบบทำความเย็นที่ประหยัดพลังงาน
ประหยัดพลังงานได้สูงสุดตั้งแต่นาทีแรกของการทำงาน
- ไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นที่มาพร้อมระบบมอเตอร์ปรับความเร็วรอบ ( Variable Speed Drive - VSD)
ปริมาณการไหลของอากาศอัดจะผันแปรขึ้นอยู่กับเวลาของวัน สัปดาห์ หรือเดือน และอุณหภูมิการทำงาน อาจแตกต่างกัน เทคโนโลยี VSD ช่วยให้สามารถปรับปริมาณลมให้เข้ากับความผันผวนของความต้องการ และประหยัดพลังงานมากขึ้นในกรณีที่มีโหลดเพียงบางส่วนหรือสภาพการทำงานเปลี่ยนไป - ส่วนประกอบที่ออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพ
- ระบบตรวจสอบและควบคุม
ไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นทำงานอย่างไร
ไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นเป็นไดรเออร์ที่ใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย an air-to-air heat exchanger และ air-to-refrigerant heat exchanger เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนจะขจัดความชื้นออกจากอากาศอัดโดยการควบแน่นของน้ำ การขจัดความชื้นเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องระบบอากาศอัดและอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ได้รับอากาศอัดจากผลกระทบที่เป็นอันตรายของความชื้น
เกณฑ์ที่สำคัญที่สุดคือรักษาความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศอัดให้ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
มีทั้งไดรเออร์แบบใช้สารทำความเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยอากาศและชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ โดยพื้นฐานแล้วไดรเออร์จะทำให้อากาศอัดที่ยังมีความชื้นหลังออกมาจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมนั้นมีอุณหภูมิที่เย็นลง เมื่ออุณหภูมิของอากาศอัดลดลง ความชื้นจะควบแน่นและถูกระบายออกจากอากาศอัดด้วยอุปกรณ์แยกน้ำประสิทธิภาพสูง
หลังจากนั้นอากาศอัดจะถูกทำให้ร้อนขึ้นอีกครั้งที่อุณหภูมิห้องเพื่อไม่ให้เกิดการควบแน่นที่ด้านนอกของระบบท่อ การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างอากาศอัดขาเข้าและขาออกนี้ยังช่วยลดอุณหภูมิของอากาศอัดที่เข้ามา และด้วยเหตุนี้จึงช่วยลดความต้องการของการทำความเย็นจากระบบเครื่องทำลมแห้ง