ปั๊มลมโรงงานชนิดสกรูทำงานอย่างไร
เครื่องอัดอากาศชนิดสกรูหรือปั๊มลมสกรูคืออะไร และหลักการทำงานและเทคนิคพื้นฐานเป็นอย่างไร?
สนใจแอด LINE เพื่อติดต่อสอบถาม
ในปี พ.ศ. 2430 ปั๊มลมโรงงานชนิดสกรูได้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรม โดยมีส่วนประกอบที่เรียกว่า A male rotors (เพลาตัวผู้) และ A Female rotors (เพลาตัวเมีย) ซึ่ง ในปั๊มลมชนิดสกรูแบบใช้น้ำมันหล่อเย็นในห้องสกรู Male Rotor จะเป็นตัวส่งกำลัง Female Rotor และในขณะที่เทคโนโลยีของระบบของปั๊มลมแบบไร้น้ำมันหล่อเย็นนั้นตัวเพลาทั้ง 2 ตัวจะต้องทำงานสอดคล้องกัน โดยไม่ให้เพลาทั้งสองตัวสัมผัสกัน ดังนั้นเราจึงมีการคำนวนระยะห่างในช่วงที่ใกล้ที่สุดของเพลาทั้งสองตัวเอาไว้
หลักการทำงานพื้นฐานของปั๊มลมสกรูคือเพลาตัวผู้และเพลาตัวเมียจะหมุนในทิศทางตรงกันข้ามและทำการดูดอากาศเข้ามาอยู่ตรงกลาง เมื่ออากาศไหลไปตามช่องของเพลาอากาศจะถูกบีบอัดเนื่องจากช่องว่างระหว่างเพลาจะแคบลง ดังนั้นเมื่ออากาศถูกบีบอัดแล้วจะถูกเคลื่อนที่ไปยังช่องทางออก ซึ่งความเร็วของเพลาจะถูกปรับให้เหมาะสมในระดับหนึ่งเพื่อลดการสูญเสียทางเชิงกล (เนื่องจากความร้อนที่ความเร็วสูงมาก) และการสูญเสียปริมาตร (การสูญเสียอากาศเนื่องจากความเร็วต่ำมาก) ซึ่งแตกต่างจากปั๊มลมแบบลูกสูบ (Piston Compressor) ปั๊มลมแบบสกรูซึ่งไม่มีวาล์วและไม่มีแรงทางกลไกลที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลซึ่งหมายความว่าสามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงร่วมกับอัตราการไหลในปริมาตรมากในขณะที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก
Atlas Copco “GAVSD+” เป็นตัวอย่างของเครื่องอัดอากาศแบบใหม่ ที่มีขนาดเล็ก (small foot print) แต่สามารถผลิตลมอัดได้ในปริมาณมาก มีขนาดตั้งแต่ 7kw-110kw. และสามารถผลิตลมได้ตั้งแต่ 7 l/s - 345l/s ทั้งยังช่วยท่านประหยัดค่าไฟได้ถึง 50% สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณฐิติรัตน์ เบอร์โทร +66(0)657312670