UD+ commercial image

ประโยชน์ของการใช้ตัวกรองหลักในระบบลมอัด

การบำบัดอากาศ 2019 การกรอง ตัวกรอง 2018 2017

หัวใจสำคัญสำหรับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม คือ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตและจ่ายลมอัดเพื่อใช้ในการทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากลมอัดที่ออกมาแล้ว จะมีสสารต่างๆปนออกมาพร้อมกับลมด้วย เช่น

contaminants2
  • สิ่งสกปรกที่มีอนุภาคเล็ก : เกิดจากท่อที่มีสนิม และฝุ่นที่หลุดลอดจากระบบลมอัด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการอุดตัน เนื่องจากฝุ่นหรือสิ่งสกปรก
  • contaminants2
  • น้ำมัน : ในคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมระบบที่ใช้น้ำมัน จะมีละอองน้ำมันปนเปื้อนออกมา ซึ่งตัวกรองอากาศ (Main Line Filter) จะลดปริมาณละอองน้ำมันเหล่านี้ เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดคราบน้ำมันปกคลุมอุปกรณ์ภายในเครื่องจักร และ อาจส่งผลเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วย
  • contaminants2
  • น้ำ : อากาศหลังจากการอัดจะมีความชื้นสูง จึงทำให้มีการควบแน่นเป็นหยดน้ำในบางจุด ทำให้เกิดสนิมในท่อลมเป็นสาเหตุให้เกิด pressure drop หรือท่อตันได้ ทั้งปริมาณน้ำถ้ายิ่งมากก็จะมีส่วนทำให้วาล์วควบคุมหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเกิดความเสียหายได้
  • การใส่ใจในคุณภาพของลมอัดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากใช้ลมอัดที่ไม่สะอาดเพียงพอ จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักรลดลง และส่งผลถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอาจไม่ได้คุณภาพและอาจถูกปฏิเสธจากลูกค้าได้

    reduce risk-high return

    การเลือกใช้ตัวกรองอากาศ (Main Line Filter)

    การนำลมอัดไปใช้ในงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะมี point of use ที่แตกต่างกันไป งานแต่ละอย่างจึงต้องการคุณภาพของลมอัดไม่เท่ากัน ซึ่งคุณภาพของลมอัดตามมาตรฐาน ISO 8573 – 1 : 2010 ถูกแบ่งออกเป็น class ตั้งแต่ 0 – 6 ตามตารางด้านล่างนี้้

    ISO 8573-1

    จากตารางจะเห็นได้ว่า คุณภาพของลมอัดในแต่ละ class จะมีสิ่งสกปรก น้ำ และไอน้ำมันหลงเหลืออยู่บ้างในที่ปริมาณที่ยอมรับได้

    เมื่อเรารู้แล้วว่าลักษณะงานที่เราจะนำไป่ใช้นั้น ต้องการคุณภาพของลมอัดมากเท่าไหร่ ขั้นตอนต่อไปก็คือการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อปรับปรุงคุณภาพของลมอัดให้เป็นไปตามมาตรฐาน

  • ในส่วนของสิ่งสกปรก และไอน้ำมัน เราสามารถเลือกใช้ตัวกรองอากาศ (Main line Filter) เพื่อลดสิ่งปนเปื้อนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • แต่ในส่วนของความชื้น จะเห็นได้ว่า class 1-3 ต้องการลมอัดที่มีความแห้งเป็นพิเศษ จึงต้องมีการติดตั้งเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้นเพื่อให้ได้คุณภาพตรงตามมาตรฐาน ส่วน Class 4-6 นั้นสามารถเลือกใช้ Membrane dryer หรือ Refrigerant air dryer ในการทำลมแห้งได้
  •  

    ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อปรับปรุงคุณภาพของลมอัด

    ISO 8573-1
    main line air filter installations

    หลักการทำงานของตัวกรองอากาศ (Air filter)

    จากคลิปวิดิโอด้านบน เราจะเห็นว่า ภายในตัวกรองอากาศ (Air filter) ของ แอตลาส คอปโก้ จะมีเส้นใยแก้วบางๆที่ซ้อนกันอยู่เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่ในการดักจับสิ่งปนเปื้อนต่างๆในลมอัด โดยมีกลไกการทำงานอยู่ 3 ขั้นตอน

    filtration

    1. Internal impaction - อนุภาคของสิ่งปนเปื้อนที่มีน้ำหนัก และขนาดค่อนข้างใหญ่ จะกระทบและติดไว้ที่บริเวณผิวด้านหน้าของเส้นใยแก้ว
    filtration

    2. Interception - อนุภาคของสิ่งปนเปื้อนขนาดเล็กที่ยังคงเล็ดลอดเข้ามาตามแรงลม จะถูกดักจับไว้ให้อยู่ภายในเส้นใยแก้ว
    filtration

    3. Diffusion - อนุภาคของสิ่งปนเปื้อนในลมอัดจะเคลื่อนที่แบบสุ่มหรือสลับทิศทาง และถูกดักจับอยู่ภายในเส้นใยแก้วจนเหลือขนาดอนุภาคที่เล็กลงเรื่อยๆ จึงช่วยลดปริมาณสิ่งปนเปื้อนในลมอัดลงไปได้มาก

    ประโยชน์ของการใช้ตัวกรองหลักในระบบลมอัด

    explainer icon