เลือกโบลเวอร์อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
คุณกำลังตัดสินใจเลือกซื้อโบลเวอร์อยู่ใช่ไหม? วันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกซื้อโบลเวอร์ให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรมกันค่ะ!
รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันในประเทศไทยเองมีอุตสาหกรรมต่างๆ มากมายที่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงดันต่ำ (low-pressure technologies) ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็น การใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ใช้ในฟาร์มปลา อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม โรงงานปูนซีเมนต์ หรือในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ เป็นต้น โดยในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีการใช้งานลมอัดและข้อจำกัดต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป นี่จึงเป็นเหตุให้ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศควรพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ก่อนการลงทุนเพื่อที่จะเลือกซื้อเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงดันต่ำได้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด!
ปัจจัยในการเลือกเทคโนโลยีโบลเวอร์มีอะไรบ้าง?
การทราบปริมาณความต้องการใช้งานลมอัดและข้อกำหนดในการติดตั้งอย่างละเอียดถือเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม โดยคุณอาจจะพิจารณาเลือกจาก ขนาดพื้นที่ติดตั้ง หากพื้นที่ใช้งานคุณมีอยู่อย่างจำกัด ควรเลือกโบลเวอร์ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัดและมีการทำงานที่เงียบ จะช่วยให้ประหยัดพื้นที่ ไม่รบกวนการทำงาน หากกระบวนการผลิตของคุณจำเป็นต้องใช้โบลเวอร์ที่ประหยัดพลังงาน ก็อาจจะต้องเลือกใช้โบลเวอร์ที่มีราคาสูงสักนิด ซึ่งปัจจัยในการเลือกใช้เทคโนโลยีโบลเวอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นยังมีอีกมาก มาดูกันเลยค่ะ ว่ามีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ผู้ใช้งานควรนำมาพิจารณา:
1. Flow และ pressure
การติดตั้งโบลเวอร์ให้มีขนาดเหมาะกับการใช้งานจะช่วยให้คุณประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิตไปได้มาก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเปลี่ยนจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบปกติ (air compressor) มาเป็นเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงดันต่ำ (low-pressure technologies) จะสามารถผลิตลมอัดแรงดันต่ำได้ในอัตรา 0.3 และ 1.5 บาร์ (กรัม) ส่งผลให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เนื่องจากอากาศจะถูกบีบอัดให้สูงกว่าความต้องการใช้งานจริงทุกๆ 1 บาร์ (g) ทำให้คุณสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 7%
2. สภาพแวดล้อมบริเวณที่ติดตั้ง (Application conditions)
ลักษณะการใช้งานและสภาพแวดล้อมที่หน้างานนั้นถือว่ามีผลต่อการเลือกเทคโนโลยีโบลเวอร์เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ความพร้อมในเรื่องของสถานที่ติดตั้งโบลเวอร์ หากสภาพแวดล้อมบริเวณหน้างานที่ต้องติดตั้งเครื่องนั้นมีฝุ่นมากหรือต้องติดตั้งบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น เราขอแนะนำให้เลือกติดตั้งสำเทคโนโลยีโบลเวอร์แบบสกรูดิสเพลสเมนต์เชิงบวกที่เชื่อถือได้ (positive displacement screw) หรือแบบ lobe blower รวมถึงแบบแรงเหวี่ยงหลายขั้นตอน (multi stage centrifugal) ในทางกลับกัน หากคุณต้องการลดต้นทุนด้านพลังงานในกระบวนการผลิต อาจจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น (energy-efficient technology)
3. ต้นทุนค่าเครื่อง vs ผลตอบแทน (ROI)
4. เสียงรบกวนขณะทำงาน (Operating noise levels)
ด้วยคุณสมบัติของโบลเวอร์แรงดันต่ำรุ่นล่าสุดที่มีแผ่นกั้นอัจฉริยะ ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีระดับเสียงที่ลดลงเหลือเพียง 72dB (a) ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจึงลดลงเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีห้องและประตูสำหรับเก็บเสียงรบกวน
5. การซ่อมแซมและการบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน
6. เปรียบเทียบสมรรถนะการทำงาน
หากเปรียบเทียบโดยดูจากตัวเลขทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีโบลเวอร์ tri-lobe rotor รุ่นล่าสุด มีเสียงรบกวนต่ำ การสั่นและแรงสะเทือนต่ำ มีประสิทธิภาพในการกวาดปริมาณอากาศได้เกือบหกเท่าในครั้งเดียวเมื่อเทียบกับโบลเวอร์ belt-driven หรือ twin-lobe รุ่นก่อนที่ประสบปัญหา transmission losses มากถึง 5% - 7% เทคโนโลยีโบลเวอร์ tri-lobe rotor รุ่นล่าสุดจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า
แต่ข้อดีของโบลเวอร์ direct-drive (oil-free, rotary screw blowers) คือมีอินเวอร์เตอร์ไดฟ์ในตัวจึงสามารถมีสมรรถนะการทำงานที่กว้างขึ้น ทำให้เครื่องสามารถเติมอากาศได้ตามความต้องการที่แปรผันในแต่ละวันหรือฤดูกาลทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น และเพื่อรับมือกับความต้องการที่ผันผวนนี้ เทคโนโลยีสกรูโบลเวอร์สามารถรองรับทำงานได้ตั้งแต่ 100% ไปจนถึง 25%
7. ความหลากหลายของเทคโนโลยีแรงดันต่ำ
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ผลิตอากาศอัดแรงดันต่ำเกิดขึ้นมากมาย แต่เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมหลักๆ มีอยู่สามตัวด้วยกัน นั่นก็คือ เทคโนโลยีแบบ lobe เทคโนโลยีแบบ screw และแบบ centrifugal นอกจากนี้ภายในเทคโนโลยีแบบ centrifugal นั้นยังแบ่งออกเป็นโบลเวอร์แบบแรงเหวี่ยงแบบหลายใบพัด (multistage) และแบบความเร็วสูงหรือแบบมีเกียร์ในตัว ดังนั้นเทคโนโลยีแรงดันต่ำที่ใช้ในปัจจุบันจึงมีทั้งหมดห้าประเภทด้วยกัน
เทคโนโลยีแต่ละตัวต่างก็มีข้อจำกัดของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีแบบ lobe จะทำงานได้ดีเมื่อใช้งานที่แรงดันต่ำกว่า 0.3 บาร์และมีอัตราการไหลน้อยกว่า 500 ลบ.ม./ชม. ในขณะที่เทคโนโลยีแบบสกรูจะทำงานได้ดีเมื่อแรงดันและอัตราการไหลอยู่ระหว่าง 500-5,000 ลบ.ม./ชม. ส่วนเทคโนโลยีแบบ centrifugal จะกินเวลามากเมื่อต้องผลิตลมอัดปริมาณมาก
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีแรงดันต่ำควรคำนึงถึงเรื่องการใช้งานเฉพาะของอากาศแรงดันต่ำ
8. คุณสมบัติของเทคโนโลยีแรงดันต่ำแต่ละแบบ
เทคโนโลยีโบลเวอร์แบบ lobe (หรือเรียกอีกอย่างว่าหนึ่งว่ารูทโบลเวอร์) เป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมและเชื่อถือได้ มีราคาต้นทุนค่าเครื่องที่ต่ำเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีแบบสกรูโบลเวอร์ แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีแบบสกรูโบลเวอร์จะให้ความน่าเชื่อถือที่มากกว่าและประหยัดพลังงานมากกว่า ทำให้คุณได้รับผลตอบแทน (ROI) ที่มากขึ้น
9. Multistage vs. Turbo
เทคโนโลยีโบลเวอร์แบบ Multistage นั้นให้ประสิทธิภาพที่ตรงตามมาตรฐานระดับอุตสาหกรรม จึงเหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีโบลเวอร์ทั้งแบบ Turbo หรือ turbo-multistage นั้นก็ถือเป็นการผสานเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพระดับชั้นนำของตลาดและเชื่อถือได้ จึงออกมาเป็นเครื่องอัดอากาศแรงดันต่ำที่สามารถผลิตลมอัดได้หลากหลายตามความต้องการใช้งาน โดยมีต้นทุนตลอดอายุการใช้งานที่ต่ำที่สุด แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุด
10. เทคโนโลยี VSD
ลองพิจารณาดูว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ตรงกับการใช้งานของคุณ แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงดันต่ำแบบใด สิ่งสำคัญคือคุณควรจะเลือกเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ รับประกันความต่อเนื่องในกระบวนการผลิต มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน