เราสามารถช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง

ปัญหาน้ำที่มาจากการควบแน่นในอากาศอัด

คุณเคยพบหรือเคยได้ยินคนบ่นเกี่ยวกับน้ำจากการควบแน่นในอากาศอัดหรือไอน้ำหรือไม่ ความชื้นเช่นนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรละเลยหรือปล่อยไว้โดยไม่ใส่ใจ เพราะอาจทำให้อุปกรณ์ของคุณได้รับความเสียหาย และส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์สุดท้ายของคุณ

 

มาศึกษาถึงสาเหตุของความชื้นในอากาศอัด และวิธีดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

 

เหตุใดจึงมีน้ำออกมาจากระบบอัดอากาศหรือปั๊มลม

น้ำจากการควบแน่นนั้นเป็นเรื่องปกติ และเป็นผลกระทบที่ได้จากการอัดอากาศ ปริมาณน้ำที่เกิดจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมนั้นขึ้นกับสภาพของท่ออากาศเข้า คุณภาพของอากาศโดยรอบ และแรงดัน

 

พูดง่ายๆ ก็คือ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ขนาดของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม และแรงดันที่ต้องการนั้นมีผลต่อปริมาณน้ำที่ออกมาจากเครื่อง ความชื้นนี้จะมีผลต่อทั้งระบบ รวมไปถึงท่ออากาศอัด อากาศที่ร้อนชื้นนั้นมีปริมาณความชื้นที่สูงกว่าอากาศเย็น ไอน้ำจะเกิดขึ้นภายในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม

 

พิจารณาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมสกรู (Screw compressor) 55kW (75HP) ทำงานในห้องที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 24 °C (75 °F) และความชื้นสัมพัทธ์ 75% สภาวะเหล่านี้จะผลิตน้ำออกมา 280 ลิตร (75 แกลลอน) ต่อวัน ซึ่งต้องใช้กระบวนการขจัดความชื้นภายในระบบอากาศอัดตามภาพด้านล่างเพื่อแก้ปัญหานี้ 

สามารถแยกน้ำนี้ได้โดยใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น อาฟเตอร์คูลเลอร์ After cooler , ตัวแยกน้ำทิ้ง, เครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารทำความเย็น และ เครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น 

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) ที่ทำงานด้วยแรงดัน 7 บาร์(e) จะบีบอัดอากาศ 7/8 ของปริมาตรอากาศ ซึ่งจะลดความสามารถของอากาศในการอุ้มไอน้ำลง 7/8

 

จะเกิดน้ำขึ้นปริมาณมากดังแสดงให้เห็นในภาพต่อไปนี้ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม 100kW ที่ดึงอากาศอุณหภูมิ 20 °C และความชื้นสัมพัทธ์ 60% จะผลิตน้ำออกมาประมาณ 85 ลิตรในเวลา 8 ชั่วโมง ทำให้ปริมาณน้ำที่จำเป็นต้องแยกจะขึ้นกับพื้นที่การใช้งานอากาศอัด 

ปัจจัยเหล่านี้กำหนดการเลือกใช้เครื่องทำความเย็นและเครื่องทำลมแห้งที่เหมาะสม

เพื่อที่จะอธิบายถึงความชื้นในอากาศอัดอย่างละเอียดยิ่งขึ้น เราต้องประเมินอุณหภูมิแวดล้อม อัตราการไหล (ขนาดของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม) แรงดันขาเข้า อุณหภูมิขาเข้า และอุณหภูมิจุดน้ำค้างของแรงดัน (PDP)

พารามิเตอร์การเลือก

  • อัตราการไหลหรือขนาดของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม การใช้งานที่ต้องการอัตราการไหล (CFM หรือ l/w) สูงกว่าจะผลิตน้ำในปริมาณที่มากกว่า
  • อุณหภูมิแวดล้อม / ปริมาณความชื้น เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่ทำงานในอุณหภูมิแวดล้อมและระดับความชื้นที่สูงกว่าจะสร้างไอน้ำปริมาณมากกว่าภายในระบบ
  • อุณหภูมิอากาศขาเข้า ยิ่งอุณหภูมิขาเข้าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมสูงขึ้น ปริมาณน้ำในอากาศอัดจะมากขึ้นตามไปด้วย
  • แรงดัน ระดับแรงดันสูงจะสร้างระดับความชื้นต่ำ ซึ่งต่างจากปริมาณการไหล อุณหภูมิ หรือความชื้น ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบีบฟองน้ำที่อุ้มน้ำอยู่แรงๆ น้ำจะถูกผลักออกมามาก
  • อุณหภูมิจุดน้ำค้างของแรงดัน (PDP) อุณหภูมิจุดน้ำค้างของแรงดันเป็นวิธีที่นิยมในการวัดปริมาณน้ำในอากาศอัด PDP หมายถึงอุณหภูมิที่มีน้ำอิ่มตัวอยู่ในอากาศหรือก๊าซและเริ่มที่จะเปลี่ยนเป็นสถานะของเหลวผ่านการควบแน่น PDP ยังเป็นจุดที่อากาศไม่สามารถอุ้มไอน้ำได้อีกต่อไป

 

ต้องการระดับ PDP ต่ำลงเพื่อที่จะลดปริมาณน้ำในอากาศอัด นี่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าค่า PDP ที่สูงกว่าหมายความว่ามีปริมาณไอน้ำสูงกว่าในระบบ ประเภทและขนาดของเครื่องทำลมแห้งจะกำหนดระดับ PDP และการควบแน่นในอากาศอัด

 

พารามิเตอร์การเลือกในขั้นตอนต่างๆ ของการบีบอัดอากาศ

อุณหภูมิจุดน้ำค้างของแรงดันที่ต้องการสำหรับระดับอากาศอัด iso 8573-1

อุณหภูมิจุดน้ำค้างที่ต่ำกว่าของแรงดันในระบบทำลมแห้งหมายถึงมีต้นทุนพลังงานมากกว่า เพราะต้องใช้การทำงานมากกว่าในการขจัดความชื้น ต้องหลีกเลี่ยงโซลูชั่นการทำลมแห้งที่ใช้พลังมากเกินความจำเป็นเพื่อลดค่าใช้จ่าย และให้เลือกระบบทำลมแห้งที่ตรงกับความต้องการเฉพาะของคุณเพื่อรักษาประสิทธิภาพและควบคุมค่าใช้จ่าย

ให้พิจารณาระบบทำลมแห้งเหมือนกับเครื่องยนต์ของรถ ถ้าคุณใช้งานเต็มกำลังตลอดเวลา จะเป็นการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่าย เหมือนกันกับถ้าเลือกเครื่องที่มีอุณหภูมิจุดน้ำค้างต่ำมากๆ ของแรงดันในการทำลมแห้ง จะเกิดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานมากเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัด ให้หลีกเลี่ยงเครื่องที่มีขนาดเกินความต้องการ เหมือนกับการเลือกใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็วในการขับ เพื่อประสิทธิภาพและการประหยัด

ระดับ น้ำ

อุณหภูมิจุดน้ำค้างของแรงดันไอระเหย

°C°F
0 - -
1 ≤ -70 ≤ -94
2 ≤ -40 ≤ -40
3 ≤ -20 ≤ - 4
4 ≤ +3 ≤ +37
5 ≤ +7 ≤ +45
6. ≤ +10 ≤ +50
ตารางแสดงระดับต่างๆ ของอากาศอัดและอุณหภูมิจุดน้ำค้างของแรงดันอากาศอัด

วิธีการวัดอุณหภูมิจุดน้ำค้างและความชื้น

ในการทดสอบอากาศอัด จำเป็นต้องเข้าใจประเภทต่างๆ ของเซนเซอร์อุณหภูมิจุดน้ำค้างที่มี:

 

  • เซนเซอร์อุณหภูมิจุดน้ำค้างประเภทคาปาซิทีฟ: เหมาะสำหรับการตรวจสอบอุณหภูมิจุดน้ำค้างในระบบอากาศอัดอย่างต่อเนื่อง เซนเซอร์จะวัดความเปลี่ยนแปลงในความสามารถในการประจุกระแสไฟฟ้าเนื่องจากระดับความชื้น และให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้รักษาสภาวะการทำลมแห้งไว้ได้อย่างเหมาะสม และสามารถช่วยประหยัดพลังงานเมื่อใช้กับระบบควบคุมเครื่องทำลมแห้งที่เหมาะสม

 

  • กระจกเย็น: เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้สามารถวัดอุณหภูมิจุดน้ำค้างได้อย่างแม่นยำที่สุดด้วยการทำความเย็นให้กระจกจนเกิดการควบแน่น อุณหภูมิที่การควบแน่นนี้เกิดขึ้นคืออุณหภูมิจุดน้ำค้าง อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์กระจกเย็นนั้นมีราคาแพง ต้องทำความสะอาดบ่อยครั้ง ใช้ผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านการอบรม ต้องมีการสอบเป็นระยะ ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

 

  • ตัววัดความชื้น: เป็นเครื่องมือที่จะเปลี่ยนสีเพื่อบอกระดับความชื้น สามารถติดตั้งได้ทุกที่ในระบบจากเครื่องทำลมแห้ง แม้วิธีนี้จะช่วยบ่งชี้ให้เห็นถึงระดับความชื้นที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่ใช่เครื่องมือวัดที่แม่นยำนัก

การทำความเข้าใจเครื่องมือนี้จะสามารถยกระดับประสิทธิภาพของกระบวนการทดสอบอากาศอัดของคุณได้

 

การควบแน่นของอากาศอัดสามารถส่งผลเสียต่อระบบได้อย่างไรบ้าง

การควบแน่นในอากาศอัดที่ไม่ได้รับการดูแลอาจทำให้เกิดความเสียหายและสร้างปัญหาให้กับระบบนิวแมติก มอเตอร์ลม และวาล์วได้ นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผลต่อส่วนประกอบหรือเครื่องจักรใดๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับระบบ ส่งผลให้อาจเกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายได้

 

รายการต่อไปนี้จะอธิบายให้ทราบเพิ่มเติมถึงผลเสียของความชื้น:

  • การกัดกร่อนในระบบท่อและอุปกรณ์ (เช่น CNC และเครื่องจักรทำการผลิตอื่นๆ)
  • การสร้างความเสียหายให้การควบคุมแบบนิวแมติก ซึ่งอาจทำให้ต้องหยุดทำงานที่มีค่าใช้จ่ายสูง
  • สนิมและการสึกหรอที่เพิ่มขึ้นกับอุปกรณ์การผลิตเนื่องจากสารหล่อลื่นที่ถูกชะล้างออกไป
  • ปัญหาด้านคุณภาพ จากความเสี่ยงของการเปลี่ยนสี คุณภาพที่ลดลง และการยึดติดของสี
  • การทำงานในสภาพอากาศเย็น อาจเกิดน้ำแข็งจับ ซึ่งอาจทำให้สายควบคุมได้รับความเสียหาย
  • การบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมมากเกินจำเป็น และอายุการใช้งานที่สั้นลงของอุปกรณ์

 

นอกจากนั้น ความชื้นในอากาศอัดยังอาจส่งผลเสียได้มากกับอากาศในโรงงาน อากาศสำหรับอุปกรณ์ วาล์วและกระบอกสูบ รวมถึงเครื่องมือลม เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาที่มากเกินความจำเป็นและโอกาสที่เครื่องจะหยุดทำงาน แนะนำให้ดำเนินการแบบเชิงรุก แนะนำเป็นอย่างยิ่งให้ดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นอย่างเหมาะสมเพื่อทำให้อากาศอัดแห้ง สะอาด และเหมาะสำหรับการใช้งานของคุณ

 

วิธีการทำให้อากาศอัดแห้ง

การเลือกวิธีการทำลมแห้งที่เหมาะสมสำหรับอากาศอัดจะขึ้นอยู่กับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพสำหรับการใช้งานของคุณ

 

  1. หนึ่งในขั้นตอนแรกคือการขจัดความชื้นในอากาศอัดภายในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม นี่เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าตัวแยกความชื้น หรืออาฟเตอร์คูลเลอร์ (After cooler) นั้นสามารถขจัดไอน้ำได้ 40-60%
  2. หลังจากที่อากาศอัดออกจากอาฟเตอร์คูลเลอร์แล้ว จะยังคงชุ่มไปด้วยน้ำ และอาจส่งผลเสียต่อระบบโดยรวมถ้าไม่ได้รับการปรับปรุง
  3. เนื่องจากว่าถังของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมนั้นเย็นกว่าอากาศอัดร้อนที่เข้ามาเป็นอย่างมาก การใช้ถังลมจะสามารถช่วยลดปริมาณน้ำ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าถังเปียกจะเก็บความชื้นไว้มากเกิน และต้องทำการระบายน้ำทุกวันเพื่อป้องกันการกัดกร่อนและการสึกหรอ
  4. ถ้าในการใช้งานของคุณต้องมีการขจัดความชื้นเพิ่มมากขึ้นไปอีก คุณจำเป็นต้องเพิ่มเครื่องทำลมแห้งภายนอกหรือภายใน (ปั๊มลมที่มีเครื่องทำลมแห้งอยู่ในตัว)  

เครื่องทำลมแห้งมี 2 ตัวเลือกคือแบบใช้สารทำความเย็นหรือสารดูดความชื้น การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิจุดน้ำค้างที่ต้องการ
  • หากใช้เครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารทำความเย็น อุณหภูมิอากาศอัดจะถูกลดลงเหลือ 3 องศาเซลเซียส (37 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งจะทำให้ไอน้ำควบแน่นออกจากอากาศอัด ถ้าอุณหภูมิจุดน้ำค้างของเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารทำความเย็นไม่เพียงพอ ควรใช้เครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดความชื้น
  • เครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดความชื้นจะลดอุณหภูมิจุดน้ำค้างลงเหลืออย่างน้อย -40 องศาเซลเซียส ทำให้ได้อากาศที่แห้งเป็นอย่างมาก ซึ่งจำเป็นสำหรับงานพ่นสีสเปรย์ งานพิมพ์ และเครื่องมือนิวเมติกอื่นๆ

ในคู่มือนี้คุณจะได้เรียนรู้ทุกสิ่งที่จำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอากาศอัด ตั้งแต่ประเภทต่างๆ ของสิ่งปนเปื้อน ไปจนถึงการทราบถึงข้อกำหนดด้านคุณภาพอากาศอัดของคุณ คู่มือนี้ครอบคลุมหัวข้อด้านการพัฒนาคุณภาพอากาศอัดที่สำคัญทั้งหมด

คุณมีคำถามเฉพาะหรือต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพอากาศของเรายินดีช่วยเหลือคุณ ติดต่อเราด้วยการคลิกปุ่มด้านล่าง

กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องทำลมแห้งสำหรับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม

บทความที่เกี่ยวข้อง

an illustration about air treatment for the atlas copco wiki pages

ทำไมอากาศอัดที่แห้งจึงมีความสำคัญ?

13 พฤศจิกายน, 2022

การทำให้อากาศอัดขาออกแห้งเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาในระบบลมอัด เรียนรู้เพิ่มเติมว่าเหตุใดจึงต้องทำให้แห้งและทำอย่างไร

quality of compressed air

คุณภาพของอากาศอัด

18 ตุลาคม, 2022

ต้องทำการตัดสินใจหลายอย่างเมื่อติดตั้งระบบอัดอากาศเพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างกันและให้คุณภาพอากาศที่เหมาะสม

an illustration about air treatment for the atlas copco wiki pages

ฉันต้องใช้ไดรเออร์หรือเครื่องทำลมแห้ง (Air dryer) แบบใดสำหรับเครื่องอัดอากาศหรือเครื่องปั๊มลม?

11 พฤศจิกายน, 2022

การเลือก Air Dryer ที่เหมาะสมสำหรับระบบอากาศอัดมีความสำคัญพอๆ กับการเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมให้เหมาะกับแอพพลิเคชั่นของคุณ เราจะแสดงให้คุณเห็นถึงสิ่งที่ควรระวังเมื่อซื้อเครื่อง Air Dryer

การบำบัดอากาศ การทำแห้ง การคอนเดนเสทในอากาศอัด สิ่งปนเปื้อนในอากาศอัด