ใน Momentum Talks ตอนนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญของเราจะพูดคุยเกี่ยวกับผลกระทบของการออกแบบสำหรับระบบอัตโนมัติ คุณจะทำการออกแบบสำหรับระบบอัตโนมัติและอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร คุณจะรับมือกับความท้าทายที่มักพบได้อย่างไร
หุ่นยนต์นั้นช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ผลิต ในทางกลับกัน คุณก็สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับหุ่นยนต์ได้ด้วยการออกแบบสำหรับระบบอัตโนมัติ รับชมฉบับเต็มด้านล่าง หรืออ่านบทสรุป Momentum Talks ของเราและรับชมไฮไลต์ที่เกี่ยวข้อง!
Momentum Talks ดำเนินรายการโดย Amanda Teir และแขกรับเชิญในตอนนี้คือ:
- Sofia Colaço, Automation Engineer, Scania Smart Factory Lab
- Anna Bird, CEO, Mälardalen Industrial Technology Center
- Benjamin Kitzinger, Global Business Manager Automation, Atlas Copco
ระบบอัตโนมัติคือหนทางสู่ความสำเร็จ
เทคโนโลยีได้ขยายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับเรา: ระบบอัตโนมัติช่วยให้หลายๆ สิ่งเป็นไปได้เทียบกับ 20 ปีที่แล้ว
แรงงานที่มีฝีมือเป็นความท้าทายที่สำคัญที่ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมกำลังเผชิญอยู่ในวันนี้ และยังเป็นตัวขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติ เราต้องการผู้ที่มีความสามารถในการโปรแกรมโซลูชั่นอัตโนมัติ โปรแกรมเมอร์ต้องมีความสามารถในการโปรแกรม AI และมีความเข้าใจในเทคโนโลยีต่างๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการผลิต จึงพูดได้ว่าการผลิตนั้นมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
อีกความท้าทายหนึ่งก็คือความเร็วของวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี การตัดสินใจใดก็ตามในวันนี้อาจใช้ไม่ได้ในเวลาอีกสิบปี ความยืดหยุ่นและการมองการณ์ไกลจึงมีความสำคัญ
กดเล่นแล้ววิดีโอจะเริ่มเล่นบทสรุปด้านบน
การออกแบบสำหรับระบบอัตโนมัติ: เรามาทำลายการทำงานแบบแยกส่วนกันเถอะ
บริษัทการผลิตส่วนใหญ่ยังคงมีการทำงานแบบแยกส่วนกันเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้วิศวกรการผลิตมุ่งเน้นไปที่การผลิตเพียงอย่างเดียว และฝ่าย R&D มุ่งเน้นที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ควรระลึกไว้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าคือผลิตภัณฑ์ที่ประกอบได้ง่ายที่สุด
ดังนั้น ในการลดต้นทุนของระบบอัตโนมัติ วิศวกรกระบวนการและฝ่าย R&D จำเป็นต้องทำงานร่วมกันตั้งแต่เนิ่นๆ และต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ได้คิดเพียงแต่การออกแบบ แต่ต้องคำนึงถึงการออกแบบที่ให้ความสะดวกในการประกอบด้วย
อีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ผลิตกำลังเผชิญก็คือสายการประกอบจำนวนมากมีพื้นที่ว่างไม่เพียงพอสำหรับสถานีอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ในวิธีประกอบรถแบบเดิมนั้นต้องเริ่มจากตัวถังรถ แล้วไล่เรียงมาถึงภายในรถ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับระบบอัตโนมัติ จึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการผลิตแบบ Unboxed Manufacturing เทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยให้เราสามารถผลิตโดยใช้วิธีการใหม่ เช่น วิธี Gigacasting (กระบวนการผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างอลูมิเนียมขนาดใหญ่ผ่านการหล่อฉีดด้วยแรงดันสูง) ที่ช่วยให้คุณสามารถผลิตชิ้นส่วนอลูมิเนียมขนาดใหญ่ และทำการประกอบเข้ากันได้โดยง่าย ช่วยหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่จะต้องเข้าไปในตัวรถ
ข้อเท็จจริงก็คือ ในท้ายที่สุดแล้วการผลิตแบบเป็นแถวตามลำดับจะถึงจุดที่ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปได้อีก ผู้ผลิตที่ยังต้องการความได้เปรียบทางการแข่งขันจะต้องคิดค้นกระบวนการประกอบขึ้นใหม่ ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องของผู้ผลิตเท่านั้น แต่ซัพพลายเออร์ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนสามารถจัดหาส่วนประกอบและวัสดุที่ถูกต้องได้ ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งท้าทายสำหรับทั้งระบบ ซึ่งทำให้ทุกส่วนต้องทำงานสอดประสานกัน
กดเล่นแล้ววิดีโอจะเริ่มเล่นบทสรุปด้านบน
ความเรียบง่ายนำมาซึ่ง ROI
ท่ามกลางความท้าทายนี้ การประหยัดเงินจำนวนมากยังสามารถทำได้ด้วยการสร้างระบบอัตโนมัติให้ถูกต้อง ตรงจุดนี้ความเรียบง่ายเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย ROI ของคุณ
ผู้ผลิตมักคิดว่าตนเองจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น นั่นคือการนำระบบอัตโนมัติมาใช้แบบ 100% หรือไม่ใช้เลย อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นนำระบบอัตโนมัติมาใช้ การเริ่มนำระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นบางส่วนอาจช่วยให้ง่ายและให้ความคุ้มค่ายิ่งกว่า
เช่นเดียวกับการออกแบบ ความเรียบง่ายมักเห็นได้ง่ายกว่าเมื่อคุณมองดูที่ผลลัพธ์สำเร็จแล้ว แต่ความยากคือการคิดค้นวิธีการทำให้สำเร็จ นักออกแบบและวิศวกรควรทำงานร่วมกันเพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ เพราะนั่นจะเป็นวิธีที่ยั่งยืนและช่วยประหยัดเงินได้มากที่สุด
ตัวอย่างหนึ่งที่ดีก็คืออุตสาหกรรมการบรรจุหีบห่อ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงและระบบอัตโนมัติระดับสูงที่เป็นปกติในอุตสาหกรรม ผู้ผลิตเครื่องจักรการบรรจุหีบห่อและนักออกแบบหีบห่อจึงมักเป็นคนเดียวกัน โดยมักเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งคือบริษัทเครื่องบรรจุหีบห่อทำการออกแบบหีบห่อให้เหมาะกับเครื่อง หรือผู้ออกแบบหีบห่อทำการผลิตเครื่องสำหรับหีบห่อของตนด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีการเดียวที่จะบรรลุความเป็นอัตโนมัติระดับสูงได้นั้นคือการผลิตและการออกแบบต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เครื่องจักรและผลิตภัณฑ์จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
กดเล่นแล้ววิดีโอจะเริ่มเล่นบทสรุปด้านบน
วิธีการของ Atlas Copco ในการออกแบบและระบบอัตโนมัติ
Atlas Copco มีปรัชญาด้านระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า “ลงมือทำให้สุดยอดแล้วปรับขยาย (nail it and scale it)” เมื่อประมาณ 3 ปีก่อนเราได้เริ่มตั้งมั่นที่จะทำให้กระบวนการขันประกอบเป็นอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพสูง เราได้สร้างทีมของเราที่มี R&D ที่พิเศษ โดยเราตั้งใจที่จะใกล้ชิดกับตลาดและใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขาและเริ่มการจำลองแบบดิจิตอลที่จุดนั้น แบบจำลองดิจิตอลจะมีประโยชน์ในการสร้างแนวคิดเริ่มแรกและค้นหาว่าจะสามารถทำการปรับแต่งพร้อมกับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดได้ที่ใดได้บ้าง จากนั้นเราจะสามารถระบุส่วนประกอบที่สำคัญ แล้วทำการสร้างต้นแบบจริงได้อย่างมั่นใจ
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของเราเสมอก่อนที่เราจะเริ่มทำการพัฒนา ซึ่งควรจะมีเป้าหมายที่ความสามารถในการปรับขนาดได้เสมอ เพื่อให้ลูกค้าได้รับโซลูชั่นที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว
แบบจำลองดิจิตอลหรือฝาแฝดดิจิตอลนั้นเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับกระบวนการออกแบบ ฝาแฝดดิจิตอลที่ดีจะช่วยให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี คุณสามารถสลับสิ่งต่างๆ ไปมา ทำการทดสอบในสถานการณ์เสมือน ทำความเข้าใจผลลัพธ์จริง และสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าใจได้โดยง่าย
กดเล่นแล้ววิดีโอจะเริ่มเล่นบทสรุปด้านบน
การออกแบบสำหรับระบบอัตโนมัติ: รายการตรวจสอบ
- ทำลายการคิดแบบแยกส่วน
- พิจารณาเทคโนโลยีใหม่ๆ
- คิดนอกกรอบ—หรือแม้แต่ทำลายกรอบ
- วางแผนและตัดสินใจในตัวแปรต่างๆ
- เริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ
- ลงมือทำให้สุดยอดแล้วปรับขยาย (Nail it, then scale it)