Momentum Talks เป็นรายการเกี่ยวกับโรงงานอัจฉริยะ ในตอนนี้เราจะพูดถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน และโรงงานผลิตยานยนต์จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นโรงงานอัจฉริยะอย่างไรเพื่อที่จะแข่งขันและอยู่รอดได้
สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไปแล้ว และมันขึ้นอยู่กับเราที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นที่รู้กันว่าการจะบรรลุเป้าหมายทางสภาพอากาศระดับโลกนั้น การขนส่งจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้า แต่คุณทราบหรือไม่ว่ากำลังมีอุตสาหกรรมเกิดใหม่ นั่นคืออุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน
ดังนั้น ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดใช่หรือไม่ อ่านบทสรุปของ Momentum Talks ของเรา หรือรับชมไฮไลต์ด้านล่าง!
Amanda Teir เป็นผู้ดำเนินรายการของเราในตอนนี้ และมีแขกรับเชิญคือ:
Peter Bryntesson, CEO ของ Scandinavian Automotive Supplier
Johan Dahlström ผู้บรรยายที่ University West และผู้เชี่ยวชาญด้านโรงงานอัจฉริยะ
K Arunagiri ผู้จัดการสายงานธุรกิจที่ Isra Vision
การปรับเปลี่ยนสู่ระบบไฟฟ้ามีความหมายอย่างไรในการประกอบในอุตสาหกรรมการผลิต
ตามการสำรวจที่ทำโดย Scandinavian Automotive Supplier พบว่า 83% ของบริษัทสมาชิกมองเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญภายในปี 2030 การเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้ามีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เทียบได้กับการเกิดขึ้นของ MP3 ที่ได้ปฏิวัติการแชร์และการซื้อเพลง
หนึ่งในปัจจัยการขับเคลื่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบธุรกิจ ในอนาคตจะมีแต่คนที่ซื้อบริการการขนส่งแทนการซื้อรถด้วยตัวเอง ทำให้มีจำนวนการผลิตที่ต่ำลง แต่รายได้สูงขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญก็คือความยั่งยืน ในอนาคต บริษัทต้องมีความยั่งยืนเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า นักลงทุน และพนักงาน แต่ทว่าๆ การผลิตส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่เพียงพอ อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดจะต้องมีความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศ
เพื่อที่จะให้อยู่รอดได้ ซัพพลายเออร์ส่วนประกอบจะต้องให้ความสำคัญกับสามสิ่งสำคัญนี้:
- ความยั่งยืน
การเปลี่ยนเป็นดิจิทัล
การเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้า
เพื่อให้ประสบความสำเร็จในทั้งสามด้านนี้ จำเป็นจะต้องมีทักษะใหม่และการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งหมด นอกจากนั้น ผู้กำหนดนโยบายถือว่ามีความสำคัญสูงสุดต่อการอำนวยความสะดวกให้เกิดการเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้า อุตสาหกรรมกำลังเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว และความรวดเร็วก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในการจัดหาพลังงานที่น่าเชื่อถือและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้ามีความหมายอย่างไรสำหรับโรงงานอัจฉริยะ
ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเปลี่ยนไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างรวดเร็ว การมุ่งเน้นจึงเปลี่ยนมาที่โรงงานที่ทำการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่เพียงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการเปลี่ยนโฉมโรงงานอัจฉริยะและกระบวนการผลิตแบตเตอรี่
ประเทศจีนได้ก้าวมาสู่บทบาทที่โดดเด่นด้านการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า การเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่รถยนต์ไฟฟ้าก่อนใครช่วยให้ประเทศจีนสามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ปัญหาคุณภาพอากาศตามเมืองใหญ่ๆ ซึ่งการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ช่วยแก้ปัญหาคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นมาก นอกจากนั้น ประเทศจีนยังมุ่งเน้นที่จะพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสำหรับการผลิตแบตเตอรี่อย่างเต็มที่ ซึ่งแม้แต่ยุโรปก็ยังตามหลังอยู่
นวัตกรรมหลายๆ อย่างเป็นตัวบ่งชี้ถึงความมุ่งมั่นของอุตสาหกรรมที่มีต่อความยั่งยืน ข้อแรกคือ วัสดุที่เลือกใช้เพื่อการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นมีความสำคัญ ในหลายเมืองของประเทศจีน แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะทำจากเหล็กแทนโคบอลต์ ซึ่งให้ความหนาแน่นของพลังงานที่เหมาะสมน้อยกว่า แต่ดีพอสำหรับการขับขี่ในเมือง และรูปร่างของแบตเตอรี่ก็มีความสำคัญ นวัตกรรมอย่างเบลดแบตเตอรี่มีขนาดกะทัดรัดมากขึ้นและรีไซเคิลง่ายกว่า สาม สามารถใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนแทนแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเพื่อเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
การรีไซเคิลแบตเตอรี่อย่างยั่งยืนยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ ในปัจจุบัน การขาดมาตรฐานในการออกแบบแพคแบตเตอรี่ และขีดจำกัดของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในปัจจุบันหมายความว่าแบตเตอรี่ส่วนใหญ่นั้นถูกอัดให้เป็น "มวลสีดำ" ซึ่งจะนำไปแยกเอาวัสดุที่มีค่าต่อไป อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้ส่งผลให้สิ้นเปลืองวัสดุ
มองไปในอนาคต สุดยอดโรงงานอัจฉริยะแห่งอนาคตจะต้องพึ่งพาตัวเองได้ และมีระบบรีไซเคิลแบตเตอรี่ของตัวเอง อย่างไรก็ตาม การสร้างโรงงานเช่นนั้นมีอุปสรรค์ โดยเฉพาะในภูมิภาคอย่างสวีเดน ที่ขาดแคลนซัพพลายเออร์เครื่องจักรและฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตแบตเตอรี่
ระดับการประกอบของโรงงานต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
การที่อุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้านั้นส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อกระบวนการประกอบ และจุดชนวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโรงงานการผลิตทั่วโลก
มันไม่ใช่เพียงเรื่องการผลิตรถที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น แต่ยังเป็นเรื่องการทำให้กระบวนการผลิตเองมีความยั่งยืนด้วย นี่คือจุดที่เครื่องมือประกอบการขันอัจฉริยะและสายการประกอบแบบผนวกรวมเข้ามามีบทบาท หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นที่สุดคือการเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือไฟฟ้าไร้สายอัจฉริยะ ที่มีการติดตั้งได้เร็วขึ้น การสร้างสมดุลให้กับสายการผลิต และความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ช่วยให้สามารถประหยัดเวลาได้สูงสุดถึง 1,000 ชั่วโมงในสายการประกอบทั่วไป
ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องมืออัจฉริยะเหล่านี้ยังมีบทบาทที่สำคัญในการทำ R&D ให้กับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ความสามารถด้านเทคโนโลยีฝาแฝดดิจิตอล (Digital Twin) ของเครื่องมือประกอบการขันที่มีให้กับทีม R&D ช่วยให้เห็นภาพ การจำลอง และการทดสอบประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น
แบตเตอรี่คือหัวใจของรถยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการประกอบแบตเตอรี่ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว Isra Vision ได้ทำการออกแบบแพคแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งช่วยให้ลดการใช้วัสดุในการประกอบแบตเตอรี่ได้สูงถึง 20%
ในการประกอบแบตเตอรี่ทุกวันนี้ ผู้ผลิตทุกรายต่างคิดค้นโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ศูนย์นวัตกรรมทั่วสหรัฐฯ ยุโรป และเอเซียกำลังช่วยขับเคลื่อนการออกแบบตามความต้องการนี้ด้วยการนำเสนอบริการที่จะช่วยสนับสนุนลูกค้าอย่างสมบูรณ์แบบในการสร้างนวัตกรรม
เคล็ดลับวิธีการเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้าเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
นำศักยภาพของอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ประโยชน์ด้วย Smart Integrated Assembly
Smart Integrated Assembly เป็นแนวคิดของ Atlas Copco สำหรับผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและนำโรงงานอัจฉริยะมาใช้ ข้อเสนอนี้รวมถึง เครื่องมือ Smart Connected Assembly สำหรับการใช้งานในโรงงานและนอกสถานที่ โซลูชั่นสายการประกอบแบบบูรณาการอย่างสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการผลิต รวมไปถึงชุดบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอันเป็นเอกลักษณ์
วิธีการแบบองค์รวมนี้จะช่วยคุณในการพัฒนาการผลิตที่สามารถรับประกันคุณภาพ เป็นไปตามหลักสรีรศาสตร์ และเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ในขณะที่ลดของเสีย วัสดุ และการสิ้นเปลืองพลังงาน ซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุนพร้อมกับลดการปล่อยมลพิษที่เป็นสาเหตุของปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง