อุตสาหกรรมเหมืองแร่ (Mining Industry) ต้องใช้อากาศอัดด้วยหรือ?
อากาศอัดมีใช้งานอยู่ทุกที่ ทุกอุตสาหกรรมจริงๆค่ะ จากบทความที่แล้ว เราได้พูดคุยเกี่ยวกับการนำโบลเวอร์แบบไร้น้ำมัน (Oil-Free Air Blowers) มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูการนำเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงดันต่ำ (Low-Pressure Blower) มาใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ บ้างนั่นก็คืออุตสาหกรรมเหมืองแร่ (Mining Industry) นั่นเอง
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีการขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยหลับใหล ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองใต้ดินหรือบนผิวดิน มักจะต้องดำเนินการขุดให้เสร็จสมบูรณ์แม้สภาพแวดล้อมจะไม่เอื้ออำนวย และเนื่องจากกระบวนการทำเหมืองแร่นั้นต้องดำเนินการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง สถานที่ทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่จึงจำเป็นต้องอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมากที่สุด โดยตามกฎหมายระบุว่าการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องอยู่ห่างจากบริเวณชุมชนที่มีคนอาศัยอยู่เป็นระยะทางอย่างน้อยสิบกิโลเมตรเป็นอย่างต่ำ เพื่อป้องกันมลพิษทางเสียงที่อาจเกิดขึ้น
แล้วเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงงานต่ำ (Low-Pressure Blower) เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่อย่างไร? ในกระบวนการทำเหมืองแร่นั้นมีอุปกรณ์ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญหลักๆ อยู่สองอย่างด้วยกัน นั่นก็คือ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) และโบลเวอร์แรงดันต่ำ (Low-Pressure Blower) แต่ละตัวมีบทบาทอย่างไร มาดูกันค่ะ!!
เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air Compressors) กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่
อากาศอัดเปรียบเสมือนต้นกำลังของกระบวนการผลิตต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วย กระบวนการทำเหมืองแร่ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการสำรวจไปจนถึงการแปรรูปแร่ การถลุงและการหลอมนั้น ล้วนจำเป็นต้องใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมทั้งสิ้น มาดูกันค่ะว่าแต่ละกระบวนการนั้นมีการใช้งานอากาศอัดอย่างไร?
1. กระบวนการขุดเจาะ (Drilling)
2. กระบวนการถลุงและการทำให้บริสุทธิ์ (Smelting and Refining)
3. ใช้ขับเคลื่อนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ (Tools and Instrumentation)
4. กระบวนการระเบิด (Blasting)
5. ระบบระบายอากาศ (Ventilation Systems)
เทคโนโลยีโบลเวอร์แรงงานต่ำ (Low-Pressure Blower) กับอุตสาหกรรมเหมืองแร่
การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้การไหลเวียนของลมที่มีแรงดันต่ำจำนวนมากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทำให้เทคโนโลยีโบลเวอร์แรงงานต่ำ (Low-Pressure Blower) มีบทมากค่อนข้างมากในอุตสาหกรรมนี้
1. การละลายแร่โดยวิธี Heap Leaching
2. การลอยแร่แบบ Flotation Cells
การลอยแร่แบบ Flotation Cells หรือเรียกอีกอย่างว่า "วิธีการลอยแร่แบบฟอง (Froth Flotation)" เป็นการเก็บกลับคืนโลหะทองคําและทองแดงด้วยวิธีการลอยแร่ โดยจะช่วยแยกแร่ธาตุออกจากสารละลายและสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ เรามักพบกระบวนการนี้ในการแปรรูปทองคำ ทองคำขาว ทองแดง โครเมียม ตะกั่ว สังกะสีและอลูมิเนียม ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นต้องใช้กระแสลมแรงดันต่ำที่สม่ำเสมอเพื่อสร้างฟอง
3. การบำบัดน้ำเสีย
4. ใช้ควบคุมวัตถุดิบต่างๆ
การที่เราจะควบคุมและจัดการฝุ่น ถ่านหินและเศษวัสดุอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเหมืองแร่ได้อย่างปลอดภัยนับเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการนี้คืออากาศแรงดันต่ำ โดยอากาศแรงดันต่ำจะช่วยในเรื่องฟลูอิไดเซชัน (fluidization) ที่เกิดขึ้นเมื่อวัสดุเหล่านี้รวมตัวกับอากาศอัด และช่วยในการลำเลียงวัตถุดิบ (conveying material) ตลอดกระบวนการขุด
อย่างที่เราได้กล่าวไปตอนต้นว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไม่เคยหลับใหล เนื่องจากมีการดำเนินการอยู่ตอลดเวลา ดังนั้นการเลือกลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สักเครื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรพิจารณาถึงความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจ เลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ ทนทานต่อการเดินเครื่อง 24 ชั่วโมง คงไม่ดีแน่ๆ หากคุณจะพิจารณาแค่เพียงเรื่องของราคา Atlas Copco เราเข้าใจคุณ ด้วยเทคโนโลยีโบลเวอร์แรงงานต่ำ (Low-Pressure Blower) ของเรา ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความน่าเชื่อถือ ทนทาน บำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย คุ้มค่ากับการลงทุนแน่นอน