ทราบไหมว่า Life Cycle Cost ในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมคืออะไร?
การลงทุนซื้ออะไรสักอย่าง คุณจำเป็นต้องพินิจพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานด้วย ไม่ใช่คำนวนแค่เพียงต้นทุนราคาตอนซื้อเท่านั้น หากเป็นรถยนต์ นอกจากจะมีต้นทุนค่าเครื่องแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตามมาระหว่างใช้งานอีก เช่น ค่าน้ำมัน ค่าอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนเมื่อครบกำหนด ค่าซ่อมบำรุงรักษา เป็นต้น ผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมไปถึงเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ก็เช่นกัน ดังนั้นวิธีง่ายๆ ในการวิเคราะห์ก่อนจะลงทุนซื้อสินค้าคือการวิเคราะห์ถึงค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานหรือ Life cycle cost (LCC) นั่นเอง
‘life cycle cost’ คืออะไร?
เรามีวิธีคำนวนค่า life cycle cost ในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมอย่างไร?
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า 70% ของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานในระบบอัดอากาศมาจากค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้อเครื่องครั้งแรกจึงถือเป็นเงินเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ การคำนวณค่า life cycle cost (LCC) เป็นหนึ่งในวิธีพิจารณาก่อนทำเลือกในการลงทุนต่างๆ ดังนั้นการลดการใช้พลังงานโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบอัดอากาศจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยคุณลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศหลายท่านจึงพยายามคิดค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศ เพราะการลงทุนซื้อเครื่องอัดอากาศสักเครื่องก็เหมือนการเลือกซื้อรถยนต์สักคัน กว่าเราจะตัดสินใจเลือกว่าจะซื้อรถรุ่นใด แบรนด์ใดนั้นต้องใช้เวลาศึกษานานพอสมควร ดังนั้นเพื่อความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคัน คุณควรสังเกตการใช้งานในแต่ละวันว่ามีพฤติกรรมการใช้แบบใด หรือมักใช้งานประเภทไหนเป็นหลัก เพื่อเลือกเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน การเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมก็เช่นกัน คุณต้องพิจาณาถึงพฤติกรรมการใช้งานเพื่อเลือกใช้เครื่องอัดอากาศให้เหมาะสม
ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศหลายๆ ท่านยังคงเข้าใจผิดและไม่ได้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างใช้งาน จึงเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจากราคาค่าเครื่องที่มีราคาถูกกว่าเท่านั้น แต่กลับต้องเจอกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน หรือ ค่าบำรุงรักษา ตลอดอายุการใช้งานที่คำนวนแล้วมีราคาแพงกว่าค่าเครื่องเสียอีก จะดีกว่าไหม หากเราสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมได้ Atlas Copco เล็งเห็นถึงความสำคัญของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานหรือค่า life cycle cost จึงใส่ใจและคิดค้นเทคโนโลยีเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ทำให้คุณลดค่าไฟ้าตลอดอายุการใช้งานไปได้มาก
การคำนวณค่า life cycle cost (LCC) มักจะถูกนำไปใช้ในการคำนวนในขั้นตอนก่อนทำการวางแผนติดตั้งระบบอัดอากาศหรือเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นข้อกำหนดพื้นฐานหากมีการติดตั้งระบบอัดอากาศใหม่ การคำนวณค่า life cycle cost นั้นจะช่วยให้คุณคาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่บางครั้งก็มีข้อจำกัดเนื่องจากการคำนวณค่า life cycle cost (LCC) ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ในปัจจุบันด้วย เช่น ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานของอุปกรณ์และราคาค่าไฟที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต การคำนวณนี้เป็นการคำนวนในสิ่งที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ จึงมีความสำคัญพอๆ กับเรื่องความปลอดภัยในการผลิตและต้นทุนที่จะตามมา
การคำนวณค่า life cycle cost (LCC) นั้นต้องอาศัยความรู้และความชำนาญในการติดตั้งระบบอัดอากาศ ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ใช้งานระบบอัดอากาศ จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำนวนได้อย่างถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเลือกลงทุน เช่น คุณภาพการผลิต ความปลอดภัยในการผลิต ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมา การบำรุงรักษาเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพของลมอัดที่ผลิตได้ รวมไปถึงความเสี่ยงที่เครื่องจะหยุดทำงาน
สำหรับบทความที่เรานำมาฝากในวันนี้นั้น หวังว่าผู้ใช้งานระบบอัดอากาศคงจะเข้าใจความหมายของคำว่า “ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานหรือ Life cycle cost (LCC)” กันมากขึ้นนะคะ นอกจากคำว่า Life cycle cost (LCC) แล้วเราขอนำเสนอคำศัพท์เพิ่มอีกหนึ่งคำค่ะ นั่นก็คือคำว่า Life Cycle Profit (LCP) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้รับจากการนำพลังงานที่เหลือทิ้งในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์แทนการทิ้งไปแบบสูญเปล่า โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มจากเดิม (
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่า 70% ของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานในระบบอัดอากาศมาจากค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้อเครื่องครั้งแรกจึงถือเป็นเงินเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ การคำนวณค่า life cycle cost (LCC) เป็นหนึ่งในวิธีพิจารณาก่อนทำเลือกในการลงทุนต่างๆ ดังนั้นการลดการใช้พลังงานโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบอัดอากาศจึงเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยคุณลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้ ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศหลายท่านจึงพยายามคิดค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศ เพราะการลงทุนซื้อเครื่องอัดอากาศสักเครื่องก็เหมือนการเลือกซื้อรถยนต์สักคัน กว่าเราจะตัดสินใจเลือกว่าจะซื้อรถรุ่นใด แบรนด์ใดนั้นต้องใช้เวลาศึกษานานพอสมควร ดังนั้นเพื่อความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคัน คุณควรสังเกตการใช้งานในแต่ละวันว่ามีพฤติกรรมการใช้แบบใด หรือมักใช้งานประเภทไหนเป็นหลัก เพื่อเลือกเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน การเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมก็เช่นกัน คุณต้องพิจาณาถึงพฤติกรรมการใช้งานเพื่อเลือกใช้เครื่องอัดอากาศให้เหมาะสม
ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศหลายๆ ท่านยังคงเข้าใจผิดและไม่ได้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างใช้งาน จึงเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจากราคาค่าเครื่องที่มีราคาถูกกว่าเท่านั้น แต่กลับต้องเจอกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน หรือ ค่าบำรุงรักษา ตลอดอายุการใช้งานที่คำนวนแล้วมีราคาแพงกว่าค่าเครื่องเสียอีก จะดีกว่าไหม หากเราสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหลักของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมได้ Atlas Copco เล็งเห็นถึงความสำคัญของค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานหรือค่า life cycle cost จึงใส่ใจและคิดค้นเทคโนโลยีเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ทำให้คุณลดค่าไฟ้าตลอดอายุการใช้งานไปได้มาก
การคำนวณค่า life cycle cost (LCC) มักจะถูกนำไปใช้ในการคำนวนในขั้นตอนก่อนทำการวางแผนติดตั้งระบบอัดอากาศหรือเพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นข้อกำหนดพื้นฐานหากมีการติดตั้งระบบอัดอากาศใหม่ การคำนวณค่า life cycle cost นั้นจะช่วยให้คุณคาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่บางครั้งก็มีข้อจำกัดเนื่องจากการคำนวณค่า life cycle cost (LCC) ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ในปัจจุบันด้วย เช่น ความรู้ความเข้าใจในการใช้งานของอุปกรณ์และราคาค่าไฟที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต การคำนวณนี้เป็นการคำนวนในสิ่งที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ จึงมีความสำคัญพอๆ กับเรื่องความปลอดภัยในการผลิตและต้นทุนที่จะตามมา
การคำนวณค่า life cycle cost (LCC) นั้นต้องอาศัยความรู้และความชำนาญในการติดตั้งระบบอัดอากาศ ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ใช้งานระบบอัดอากาศ จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำนวนได้อย่างถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเลือกลงทุน เช่น คุณภาพการผลิต ความปลอดภัยในการผลิต ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมา การบำรุงรักษาเครื่องจักร ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพของลมอัดที่ผลิตได้ รวมไปถึงความเสี่ยงที่เครื่องจะหยุดทำงาน
สำหรับบทความที่เรานำมาฝากในวันนี้นั้น หวังว่าผู้ใช้งานระบบอัดอากาศคงจะเข้าใจความหมายของคำว่า “ค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานหรือ Life cycle cost (LCC)” กันมากขึ้นนะคะ นอกจากคำว่า Life cycle cost (LCC) แล้วเราขอนำเสนอคำศัพท์เพิ่มอีกหนึ่งคำค่ะ นั่นก็คือคำว่า Life Cycle Profit (LCP) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้รับจากการนำพลังงานที่เหลือทิ้งในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์แทนการทิ้งไปแบบสูญเปล่า โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มจากเดิม (energy recovery) ทั้งนี้ คุณจำเป็นต้องปรับรูปแบบการคำนวณให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องอัดอากาศหรือป๊มลมที่คุณใช้งานอยู่ด้วย
หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่า Life Cycle Cost ในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (compressed air) หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: @atlascopcothailand
ตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ VSD เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) โซลูชันการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ อากาศอัด