ไขข้อสงสัย โบลเวอร์กับการบำบัดน้ำเสีย
“น้ำ” ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เมื่อเราใช้อุปโภค บริโภคเสร็จแล้วก็จะปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำเสียส่วนใหญ่จึงมีสาเหตุมาจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่มีการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำป็นเหตุให้น้ำเน่าเสียส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษและจัดการคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการจัดการหรือบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลสถิติแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวันต่อเจ้าหน้าที่ นี่จึงเป็นเหตุให้โรงงานและสถานประกอบการต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการบำบัดน้ำเสียมากขึ้
การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การไม่ปล่อยสารมลพิษลงสู่แหล่งน้ำหรือปล่อยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ หากเกิดมลพิษขึ้นแล้วจะต้องมีการกําจัดมลพิษในน้ำให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนสภาพของเสียในน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมพอที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อแหล่งรับน้ำเสียนั้น ๆ
Atlas Copco เข้าใจและตระหนักถึงปัญหาน้ำเสีย จึงพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมาโดยเฉพาะ นั่นก็คือเทคโนโลยีสกรูโบลเวอร์ (screw air blower) โบลเวอร์หรือเครื่องเติมอากาศชนิดไร้น้ำมันถือเป็นหัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในเขตเทศบาลและโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการบำบัดน้ำเสียแต่ละกระบวนการจะมีการนำโบลเวอร์ไปใช้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
1. กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศแบบกระจาย (Diffused Aeration)
2. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process)
3. กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศแบบลากูน (Lagoon Aeration)
4. กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพด้วยเมมเบรน (Membrane Bioreactor หรือ MBR)
5. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบ Moving Bed Biofilm Reactor หรือ MBBR
กระบวนการ MBBR เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่ประหยัดพื้นที่ สามารถทำงานได้แม้มีพื้นที่ขนาดกะทัดรัด เพราะเป็นการเพิ่มตัวกลางที่เป็นพลาสติกลงในระบบบําบัดน้ำเสีย พลาสติกที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการยึดเกาะของจุลินทรีย์ วัสดุพอลิเมอร์จะไปทำหน้าที่ปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำเสียและเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ หากมีจุลินทรีย์มากขึ้นโอกาสที่จุลินทรีย์จะไปกินอาหาร (น้ำเสีย) ก็มีมากขึ้น กระบวนการนี้จึงสามารถปรับขนาดให้พอดีกับโรงงานทุกขนาดและสามารถปรับให้เข้ากับระบบตะกอนเร่งรุ่นเดิม ในกระบวนการนี้บ่อบำบัดจะเต็มไปด้วยลูกบอลพลาสติกนับพันลูก เพื่อช่วยเร่งการเติบโตของจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตะแกรงกระจายอากาศจะทำหน้าที่ผลิตอากาศที่จำเป็นต่อการเติบโตของจุลินทรีย์และทำหน้าที่กระจายจุลินทรีย์ให้ทั่วบ่อบำบัด
6. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor)
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียอีกวิธีหนึ่งที่ประหยัดพื้นที่ มักใช้ในโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง วิธีการคือใช้ถังขนาดเท่ากันสองถัง สลับกันระหว่างขั้นตอนการบำบัด โดยถังหนึ่งเติมอากาศเป็นแบบปล่อยน้ำเสียให้เข้าสู่ถังเติมอากาศให้เต็มก่อน จากนั้นปิดถัง ทันทีที่เติมถังแรก น้ำเสียจะถูกส่งไปยังถังที่สองและเติมอากาศสลับกัน จะหยุดการเติมอากาศให้เกิดการตกตะกอนในถังเติมอากาศเพราะถังตกตะกอนและถังเติมอากาศเป็นถังเดียวกัน เมื่อบำบัดจนครบวงจรแล้วจึงระบายน้ำใสไปยังถังเติมคลอรีนและปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป กระบวนการนี้จะช่วยให้โรงงานทำงานได้อย่างต่อเนื่อง หากโรงงานมีขนาดใหญ่ก็แค่เพียงใช้ถังที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามการใช้งาน
7. กระบวนการบำบัดน้ำเสียเเบบไม่ใช้อากาศหรือก๊าซออกซิเจน (Anaerobic digestion)
กระบวนการนี้สารอินทรีย์ในน้ำเสียประมาณร้อยละ 80-90 จะถูกย่อยสลายเป็นก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกเหนือไปจากไนโตรเจน แอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ในปริมาณที่น้อยกว่าหรือเราเรียกว่า ก๊าซชีวภาพ (Biogas) ซึ่งเป็นผลให้จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าทำให้ระบบเริ่มต้น (start up) ได้ช้าอีกทั้งประสิทธิภาพของระบบในการบำบัดต่ำจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการกักเก็บของเหลว (Hydraulic Retention Time;HRT) นานขึ้น ระบบบำบัดจึงมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ระบบยังมีการปรับตัวไม่ดีนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและในระหว่างกำจัดบางครั้งอาจมีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เกิดขึ้น ทำให้มีกลิ่นเหม็น ระบบนี้จึงมีข้อจำกัดการใช้งาน ดังนั้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงจำเป็นต้องผ่านเตาเผา (reactor) หรือทำการบำบัดในชุดตัวกรองก่อนที่จะฉีดเข้าไปในเครื่องเป่าอากาศหรือโบลเวอร์ (screw blower) ซึ่งก๊าซชีวภาพสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าและความร้อนในอาคารได้ หรือที่เรียกว่าระบบโคเจนเนอเรชั่น (cogeneration system) ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปริมาณของเสียในบ่อบำบัด กระบวนการนี้สามารถผลิตพลังงานจำนวนมากเพียงพอสำหรับการใช้ในโรงงานเลยทีเดียว
8. กระบวนการบำบัดน้ำเสียเเบบล้างย้อน (Filter Backwashing)
กระบวนการนี้เป็นการสูบน้ำไปข้างหลังผ่านตัวกรองโดยที่น้ำจะถูกสูบย้อนกลับไปยังตัวกรอง เพื่อป้องกันไม่ให้สารกรองสกปรกเกินไปหรือแม้กระทั่งใช้งานไม่ได้ บางครั้งอาจรวมไปถึงความต่อเนื่องจากการบีบอัดอากาศในระหว่างกระบวนการ การล้างย้อนเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อให้สามารถใช้วัสดุกรองซ้ำได้
ตัวอย่างการนำโบลเวอร์มาใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย
หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานโบลเวอร์ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand