การนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่

การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ? มาดูกันค่ะ!!

การนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Energy Recovery in Compressor Systems)

การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ?

พลังงานความร้อน (thermal energy) เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์เราได้มาจากหลายแห่งด้วยกัน สามารถเปลี่ยนรูปมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง หรือมาจากดวงอาทิตย์  พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พิภพ  หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมี ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และนอกจากนพลังงานเหล่านี้ล้วนแต่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

 

แล้วคุณทราบไหมคะว่าระบบอัดอากาศที่คุณใช้งานอยู่นั้นมีการสูญเสียพลังงานความร้อนที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตทำให้คุณเสียผลประโยชน์ไปโดยไม่รู้ตัว แต่บทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Compressed Air Heat Recovery) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยการติดตั้งระบบ energy recovery ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดพลังงานได้มากขึ้น เพราะในโรงงานอุตสาหกรรม ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งหมดในโรงงานคิดเป็น 80% ของต้นทุนการผลิตเลยทีเดียว การกู้คืนหรือนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยคุณลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในโรงงาน

การนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่คืออะไร (waste energy recovery)?

Heat energy recovery in compressor systems, diagram
ในกระบวนการบีบอัดอากาศนั้น เมื่ออากาศถูกอัดจะทำให้เกิดความร้อนสูงขึ้นในระบบและจะถูกกำจัดทิ้งก่อนที่อากาศอัดจะถูกส่งไปยังระบบท่อเพื่อใช้งานต่อไป ปัญหาคือในการกำจัดความร้อนเหล่านี้เราต้องทำให้ความร้อนเหล่านี้เย็นตัวลงก่อน ซึ่งผู้ผลิตระบบอัดอากาศต้องติดตั้งระบบระบายความร้อนเพิ่ม บางรายอาจปล่อยให้เย็นตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสามารถใช้น้ำจากเทศบาล น้ำในลำธาร น้ำในระบบปิดหรือเปิดมาช่วยด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำความเย็นให้เพียงพอกับปริมาณพลังงานความร้อนเหลือทิ้ง

ระบบอัดอากาศแบบครบวงจรในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นกินไฟมากถึง 500 กิโลวัตต์ต่อการใช้งาน 8,000 ชั่วโมงต่อปี เมื่อเทียบการใช้งานต่อปีแล้วทำให้เห็นว่ามีการใช้ไฟมากถึง 4 ล้านกิโลวัตต์ต่อปีเลยทีเดียว  โดยพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 94% เช่น น้ำร้อนอุณหภูมิ 90°C ที่เหลือทิ้งจากจากเครื่องอัดอาศหรือปั๊มลมแบบสกรูชนิดไร้น้ำมัน (Oil-free screw air compressor) แต่หากเรานำพลังงานความร้อนในส่วนนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ก็จะช่วยละการใช้พลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก ซึ่งการนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่นี้จะช่วยให้คุณสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลารวดเร็วเพียง 1-3 ปี นอกจากนี้ พลังงานความร้อนที่นำกลับมาใช้ใหม่ด้วยระบบทำความเย็นแบบปิด (closed cooling system) จะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ความน่าเชื่อถือและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มลม เนื่องจากระดับอุณหภูมิที่เท่ากันและน้ำหล่อเย็นที่มีคุณภาพสูง

การนำพลังงานความร้อนในรูปแบบ Air-cooled systems กลับมาใช้ใหม่ทำได้อย่างไร?

หากคุณต้องการลดการใช้พลังงานภายในโรงงานด้วยการนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ เราอยากจะบอกว่าวิธีนี้บางครั้งก็ไม่ได้ผลเสมอไป เพราะบางครั้งระบบอัดอากาศของคุณมีการใช้งานที่ผันผวน ไม่คงที่ ปริมาณพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่จะแปรผันตามกาลเวลา ทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หากคุณต้องการใช้วิธีนำความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่จริงๆ ก็ควรมีการใช้งานระบบอัดอากาศที่คงที่เพื่อให้การกู้คืนเป็นไปได้  การนำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ใหม่ถือเป็นแนวคิดที่ดีในการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ไปในตัว วิธีนี้จะสามารถใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) กำลังทำงาน เทคโนโลยีสมัยใหม่มักติดตั้งระบบระบายความร้อนแบบ air-cooled ภายในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) โดยตรงมากกว่าการติดตั้งแยกในภายหลัง ซึ่งให้อัตราการไหลของลมร้อนในปริมาณที่สูงเป็นอากาศอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ หลักการคือการแลกเปลี่ยนความร้อนหรือให้ความร้อนโดยตรงเข้าสู่อาคารแทนการใช้ฮีทเตอร์ในต่างประเทศ โดยอากาศที่ได้รับการระบายความร้อนแล้วจะถูกกระจายโดยใช้พัดลม

  

เมื่ออาคารนั้นได้รับความร้อนเพียงพอแล้ว ลมร้อนที่เหลือจะถูกระบายออกสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยเทอร์โมสตัท (thermostat) หรือควบคุมด้วยตนเองด้วยแดมเปอร์ (air damper) แต่ก็มีข้อจำกัดคือระยะห่างระหว่างเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) กับอาคารควรอยู่ติดกัน นอกจากนี้ปริมาณที่กู้คืนนั้นอาจจะมีจำกัด เนื่องจากเราต้องการฮีทเตอร์แค่เพียงช่วงฤดูหนาวของปีเท่านั้น การนำพลังงานความร้อนในรูปแบบอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Air-cooled systems) สามารถทำได้ตั้งแต่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง ผลคือประหยัดต้นทุนด้านพลังงานเนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

การนำพลังงานความร้อนในรูปแบบน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water-cooled systems) ทำได้อย่างไร?

การนำพลังงานความร้อนในรูปแบบน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water-cooled systems) น้ำเหลือทิ้งจากระบบอัดอากาศที่มีอุณหภูมิสูงถึง 90° เราสามารถนำพลังงานความร้อนในส่วนนี้มาใช้แทนเครื่องทำน้ำอุ่นได้ ไม่ว่าจะเป็นการซัก ทำความสะอาด หรืออาบน้ำ การนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Compressed Air Heat Recovery) จะช่วยลดการทำงานของหม้อไอน้ำ (boiler) ประหยัดเชื้อเพลิงในการทำความร้อน เมื่อหม้อไอน้ำ (boiler) มีการใช้งานที่ลดลง คุณสามารถลดขนาดหม้อไอน้ำลงได้

แต่การนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม (Compressed Air Heat Recovery) นั้นก็มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขเบื้องต้นอยู่ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามขนาดของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) แต่ละประเภท  ซึ่งการติดตั้งระบบกู้คืนหรือกำนำพลังงานความร้อน

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ที่มีกำลังมอเตอร์ไฟฟ้ามากกว่า 10 กิโลวัตต์ขึ้นไปเหมาะกับการนำพลังงานความร้อนในรูปแบบน้ำกลับมาใช้ใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าการนำพลังงานความร้อนในรูปแบบอากาศกลับมาใช้ใหม่ (Air-cooled systems) โดยอุปกรณ์พื้นฐานจะประกอบไปด้วยปั๊มน้ำ (fluid pumps) เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchangers) และวาล์วควบคุม (regulation valves) เพื่อให้ความร้อนสามารถกระจายไปยังอาคารที่อยู่ห่างไกลได้โดยใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40-80 มม. ได้โดยไม่สูญเสียความร้อน หากน้ำเหลือทิ้งจากระบบอัดอากาศมีอุณหภูมิสูงหมายความว่าสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของน้ำที่หม้อน้ำได้ ดังนั้นเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้น้ำร้อนจากแหล่งใด จากหม้อต้มน้ำ (hot water boiler) หรือ น้ำที่กู้คืนจากระบบอัดอากาศ (energy recovery system) วิธีนี้ช่วยคุณประหยัดพลังงานไปได้มาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (oil-lubricated screw compressors) แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (air-cooled) และเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบวงจรน้ำมัน (heat exchangers) ร่วมด้วย ซึ่งจะได้น้ำที่อุณหภูมิต่ำ (50° - 60°) กว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน (oil-free screw air compressor)

การนำพลังงานความร้อนในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดความจำเป็นในการซื้อพลังงาน เนื่องจากไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้งานฮีทเตอร์ นอกจากนี้ยังลดต้นทุนการใช้งานอีกด้วย  ด้วยเหตุนี้้จึงทำให้โรงงานผลิตของคุณมีกำไรเพิ่มขึ้นและช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานโดยที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม Products โซลูชันการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ โซลูชันการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่

การนำพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปในระบบอัดอากาศกลับมาใช้ใหม่

explainer icon